การขออนุญาตขุดลอกร่องน้ำทางเรือเดิน
 
 
1. การขออนุญาตขุดลอกร่องน้ำทางเรือเดิน วัตถุประสงค์เพื่อการจำหน่าย
     ผู้มีความประสงค์จะขออนุญาตขุดลอกร่องน้ำทางเรือเดิน วัตถุประสงค์เพื่อการจำหน่าย (กิจการดูดทราย) จะต้องจัดเตรียมเอกสารและดำเนินการดังต่อไปนี้
     1) ยื่นคำร้องขออนุญาตชุดลอกร่องน้ำทางเรือเดิน ตามแบบฟอร์ม ข.1 ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (เจ้าท่า) พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์การขอขุดลอกให้ชัดเจน ในพื้นที่ส่วนภูมิภาคให้ยื่นที่สำนักงานการขนส่งทางน้ำสาขา ในพื้นที่รับผิดชอบสำหรับในเขตพื้นที่ส่วนกลางให้ยื่นที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
     2) สำรวจ จัดทำแผนที่มาตราส่วนตามความเหมาะสม แสดงแนวลำน้ำ ความลึกพื้นท้องน้ำ (เทียบกับตลิ่ง และหมุดหลักฐานที่มั่นคง) สิ่งก่อสร้างสำคัญอื่น ๆ ตามแนวลำน้ำ ขนาด ขอบเขตที่ขออนุญาต จำนวน 3 ชุด โดยเป็นแผนที่ซึ่งแสดงผลการสำรวจไม่เกิน 6 เดือนก่อนยื่นขออนุญาต ทั้งนี้ต้องมีวิศวกรผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตามพรบ. วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ.2505 ลงชื่อรับรองในแผนที่ พร้อมแบบสำเนาใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมาด้วย
3) แสดงรายละเอียดอุปกรณ์การขุดลอก
4) แสดงเอกสาร หลักฐานอื่น ๆ ประกอบ เช่น สำเนาแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล) , สำเนาบัตรา ประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน , สำเนาใบเสร็จการชำระค่าธรรมเนียม การยื่นขออนุญาตขุดลอกฯ เป็นต้น
 
...........................................................................................
 
2. การขดอนุญาตขุดลอกร่องน้ำทางเรือเดิน วัตถุประสงค์เพื่อขุดลอกหน้าท่าเทียบเรือ
     ผู้มีความประสงค์ขออนุญาตขุดลอกร่องน้ำทางเรือเดิน วัตถุปะรสงค์เพื่อากรขุดลอกหน้าท่าเทียบเรือจะต้องจัดเตรียมเอกสารและดำเนินการดังต่อไปนี้
     1) ยื่นคำร้องขออนุญาตขุดลอกร่องน้ำทางเรือเดิน ตามแบบฟอร์ม ข.1 ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ต่อสำนักงานการขนส่งทางน้ำสาขาในพื้นที่นั้น ๆ พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์โดยละเอียด
     2) สำรวจจัดทำแผนที่มาตราส่วนตามความเหมาะสม ครอบคลุมบริเวณที่ขออนุญาต และพื้นที่ใกล้เคียง โดยเทียบจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (M.S.L.) หรือระดับน้ำลงต่ำสุด (L.L.W) พร้อมทั้งแสดงตำแหน่งและขนาดของท่าเทียบและบริเวณที่จะทำการขุดลอกอย่างชัดเจนด้วย ทั้งนี้ต้องมีวิศวกรผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตาม พรบ. การขุดลอกอย่างชัดเจนด้วย ทั้งนี้ต้องมีวิศวกรผู้มีใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบกวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมาด้วย
     3) สำรวจ และจัดทำแผนที่แสดงบริเวณที่ทิ้งวัสดุจากการขุดลอก โดยมีรายละเอียดเช่นเดียวกับข้อ 2. ตามควรแก่กรณีพร้อมแจ้งปริมาณวัสดุที่จะทำการขุดลอกทั้งหมดด้วย
     4) สำเนาใบอนุญาตให้ทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ (ท่าเทียบเรือ) พร้อมเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน บริเวณที่ขออนุญาตขุดลอกหรือหนังสือแสดงความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ อันชอบด้วยกฏหมาย
     5) เอกสารแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท (ถ้ามี)
     6) เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือแสดงการว่าจ้างผู้ทำการขุดลอก (ถ้ามี) เอกสารและรายละเอียดอุปกรณ์การขุดลอกวิธีการขุดลอก และการทิ้งดิน เป็นต้น
 
...........................................................................................
 
3. การขออนุญาตขุดลอกร่องน้ำทางเรือเดิน วัตถุประสงค์เพื่อการเดินเรือ การระบายน้ำป้องกันอุทกภัย รักษาสภาพแนวลำน้ำและอื่น ๆ
     ผู้มีความประสงค์จะขออนุญาตขุดลอกร่องน้ำทางเรือเดิน วัตถุประสงค์เพื่อเดินเรือ การระบายน้ำป้องกันอุทกภัย รักษาสภาพแนวลำน้ำและอื่น ๆ จะต้องเตรียมเอกสารและดำเนินการดังต่อไปนี้
     1) ยื่นคำร้องขออนุญาตขุดลอกร่องน้ำทางเรือเดิน วัตถุประสงค์เพื่อเดินเรือ การระบายน้ำป้องกันอุทกภัย รักษาสภาพแนวลำน้ำ และอื่น ๆ จะต้องเตรียมเอกสารและดำเนินการดังต่อไปนี้
     2) สำรวจจัดทำแผนที่มาตราความเหมาะสม แสดงแนวลำน้ำ ความลึกพื้นท้องน้ำสิ่งก่อสร้างสำคัญอื่น ๆ ตามแนวลำน้ำ ขอบเขตที่จะขุดและแหล่งทิ้งดินเป็นต้น แนบมาด้วย 3 ชุด โดยต้องเป็นแผนที่แสดงผลการสำรวจไม่เกิน 6 เดือน ก่อนวันยื่นคำร้อง
     - กรณีเอกชนเป็นผู้ขออนุญาต : ต้องมีวิศวกรผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา ตาม พรบ. วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ลงชื่อรับรองในแผนที่ พร้อมแนบสำเนาใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมาด้วย
     - กรณีรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานราชการเป็นผู้ขออนุญาต : ให้เจ้าหน้าที่สายงานโยธาของหน่วยงานนั้น ๆ เป็นผู้สำรวจออกแลล และลงชื่อรับรองในแผนที่ด้วย
     3) แสดงรายละเอียดอุปกรณ์การขุดลอก วิธีการขุดลอก และการทิ้งดิน
     4) กรณีการขุดลอกเป็นจำนวนมาก หรือกรณีที่คาดได้ว่าอาจมีผลกระทบเสียหายต่อบริวเณข้างเคียงในด้านต่าง ๆ ให้แสดงผลการศึกษาและมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว แนบมาด้วย
     5) เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารโครงการขุดลอกของหน่วยงานราชการ เป็นต้น
 
 
กลับหน้าแรก